วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  2  ธันวาคม    2557

ครั้งที่ 16 เวลาเรียน  13:00  -  15:00   

ความรู้ที่ได้รับ


            อาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์สุดท้ายของการเรียนการสอนในรายวิชาการอบรมณ์เลี้ยงดูเเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ความประทับใจในรายวิชานี้

           ประทับใจหลายๆอย่างในรายวิชานี้ประทับใจอาจารย์ผู้สอน ในเทมอนี้อาจารย์สอนได้ดีมาก คือ เนื้อหาในแต่วันไม่มากไม่เวิ่นเว้อจนเกินไป  และในการเรียนแต่ละครั้งอาจารย์จะเล่าประสบการณ์ให้ฟังแล้วนักศึกษาสามารถนึกภาพตามที่อาจารย์เล่าได้เหมือนอยู่ในสถานะการณ์จริงนี้คือสิ่งที่ดิฉันชอบมากที่สุด  คือ การเรียนแล้วโยงเข้าให้เห็นว่ามันมีจริง  แล้วเราควรจะปฎิบัติกับเด็กประเภทนั้นอย่าไร  เรียนวิชานี้ทำให้ดิฉัน แยกเด็กพิเศษแต่ละประเภทได้  ไม่ใช้จากการนั่งท่องจำ   แต่เป็นความเข้าใจจากเรื่องที่อาจารย์เล่าให้ฟังในห้องเรียน  ชอบอาจารย์ที่เข้าใจนักศึกษาสังเกตพฤติกรรมในช่วงที่เรามีงานเยอะและเครียดกับวิชาอื่นๆ อาจารย์ก็ค่อยช่วยเหลือแนะนำ ให้เราผ่านช่วงนั้นมาได้  ที่ชอบอีกอย่างหนึ่งคือ การตรวจงานของอาจารย์อาจารย์เป็นคนที่ไม่ได้มองจากผลงานของเด็กที่เสร็จแล้วแต่อาจารย์ดูย้อนไปถึงขั้นตอนการทำ บางครั้งผลงานบางอย่างออกมาคนอื่นมองว่ามันไม่ดี แต่อาจจะไม่มีใครรู้ว่าผลงานนั้นผ่านการทำพยายามแบบเต็มที่ของคนคนหนึ่งแล้วก็ได้ ซึงอาจารย์เบียร์เป็นคนที่มองเห็นในจุดนี้  สุดท้ายขอให้อาจารย์เป็นแบบนี้ตลอดไปนะคะ ขอบคุณสำหรับความรุ้ในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษที่อนาคตครูปฐมวัยอย่างพวกเราสามารถนำไปใช้ได้จริง   ขอบคุณคะ




วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  25  พฤศจิกายน    2557

ครั้งที่ 15 เวลาเรียน  13:00  -  15:00   


ประเมิน

ตนเอง      เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์

เพื่อน       เข้าเรียนตรงต่อเวลาตั้งใจฟัง

อาจารย์   เข้าสอนตรงต่อเวลาอธิบายเรื่องเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นได้เข้าใจง่ายเพราะอาจารย์นำเอาประสบการณ์จริงขอตนเอามาถ่ายทอดให้ฟัพร้อมสาธิตให้ดูเป็นบางกรณี


บันทึกอนุทิน


วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  18  พฤศจิกายน    2557

ครั้งที่ 14 เวลาเรียน  13:00  -  15:00   


ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย








บันทึกอนุทิน


วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  11  พฤศจิกายน    2557

ครั้งที่ 13 เวลาเรียน  13:00  -  15:00   





วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  4  พฤศจิกายน    2557

ครั้งที่ 12 เวลาเรียน  13:00  -  15:00   


       วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบที่สอบกลางภาคเมื่ออาทิตที่แล้วทำให้เราเห็นถึงจุดข้อผิดพลานในการทำข้อสอบของเราและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเตรียมตัวสอบในข้อสอบปลายภาดได้


ประเมิน

ตนเอง      เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์เฉลยเพื่อจะได้ทราบถึงจุดบกพร่องในการทำข้อสอบของตนเอง

เพื่อน       เข้าเรียนตรงต่อเวลาตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์เฉลยข้อสอบ

อาจารย์   เข้าสอนตรงต่อเวลาเฉลยข้อสอบเหมือนเป็นการทบทวนในสิ่งที่เรียนมาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษ


วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  28  ตุลาคม    2557

ครั้งที่ 11 เวลาเรียน  13:00  -  15:00

  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์นัดสอบกลางภาค


วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  21  ตุลาคม    2557

ครั้งที่ 10 เวลาเรียน  13:00  -  15:00

ความรู้ที่ได้รับ



ประเมินหลังการเรียน

ตนเอง     = เข้าเรียนตรงต่อเวลาตั้งใจฟังจดในสิ่งที่อาจารย์บอกเพิ่มเติม

เพื่อน       = เข้าเรียนตรงต่อเวลาเป้นส่วนมาก มีการถ่ายเอกสารสำหรับการเรียนพร้อมแก่การเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยา

อาจารย์     = บรรยายพร้อมยกตัวอย่างได้เข้าใจง่ายขึ้น มี VDO เปิดให้ดูทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และเนื้อหาที่สอนเหมาะสมกับเวลาเรียนไม่มากเกินหรือน้อยเกินไป

***  หมายเหตุ   วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557  อาจารย์นัดสอบพร้อมสั่งให้ปริ้นกระดาษคำตอบมาเอง



วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  14  ตุลาคม    2557

ครั้งที่ 9 เวลาเรียน  13:00  -  15:00


เด็กที่มีความบกพร่องทาการเรียนรู้(Children with learning disabilities)









ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)
เรียบเรียงโดย 
ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช

สาเหตุของปัญหาการเรียน
     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
     ขาดโอกาสทางการศึกษา
     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
     วิธีการสอนไม่เหมาะสม

LD คืออะไร?
    ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
    ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน

พบบ่อยแค่ไหน?
    ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะมี  LD เด็กชายจะมีปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1

สาเหตุของ LD
    ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
    กรรมพันธุ์

ประเภทของ LD
          LD ด้านการเขียนและสะกดคำ
          LD ด้านการอ่าน
          LD ด้านการคำนวณ
          LD หลายๆ ด้านร่วมกัน

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การเขียน)
    ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
    เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
    เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
    เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
    เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
    เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
    จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
    สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
    เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
    เขียนไม่ตรงบันทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
    ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง 

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การอ่าน)
    อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
    อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
    เดาคำเวลาอ่าน
    อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
    อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
    ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
    ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
    เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท

ประเภท (การคำนวณ)
    ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
    นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
    คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
    จำสูตรคูณไม่ได้
    เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
    ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
    ตีโจทย์เลขไม่ออก
    คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
    ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก LD
    หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
    ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ
    ต่อต้านแบบดื้อเงียบ
    ดูเหมือนเด็กเกียจคร้าน
    ไม่มีสมาธิในการเรียนทำงานช้าทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน
    ทำงานสะเพร่า
    ความจำไม่ดีได้หน้าลืมหลัง
    ขาดความมั่นใจกลัวครูดุกลัวเพื่อนล้อ
    ไม่อยากมาโรงเรียนโทษครูว่าสอนไม่ดีเพื่อนแกล้ง
    เบื่อหน่ายท้อแท้กับการเรียน
    รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งด้อยกว่าคนอื่น
    ไม่มั่นใจในตัวเอง
    มักตอบคำถามว่าทำไม่ได้ไม่รู้
    อารมณ์หงุดหงิดขึ้นลงง่ายคับข้องใจง่าย
    ก้าวร้าวกับเพื่อนครูพ่อแม่(ที่จ้ำจี้จ้ำไช)

ปัญหาการเรียน
    ปัญหาการพูด  มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง
    ปัญหาการเขียน  มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง  อ่านตัวอักษรสลับกัน
    ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้
    ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ
    ปัญหาความจำจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก

อาการที่มักเกี่ยวข้องกับLD
     แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
     มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
     เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
     งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
     การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อ (visual-motor coordination) ไม่ดี
     สมาธิไม่ดี( เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
     เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
     ทำงานช้า
     การวางแผนงานและจัดระบบ (organize) ไม่ดี
     ฟังคำสั่งสับสน
    คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
    ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
    ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
    ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
    ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

การตรวจประเมิน
     โดยทั่วไปเราจะวินิจฉัย LD โดยดูความแตกต่างระหว่างสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนกับระดับสติปัญญาของเด็ก โดยถือว่าเด็กจะเป็น LD ต่อเมื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านนั้นๆ ต่ำกว่าระดับสติปัญญา 2 ปี เช่น เด็กอายุ 10 ปี มี I.Q.=100 แต่ปรากฏว่าความสามารถในการอ่านเท่ากับเด็กอายุ 7 ปี หรือ เด็กอายุ 10 ปีที่มี I.Q.=130 แต่ความสามารถในการคำนวณเท่ากับอายุ 10 ปีเป็นต้น (เด็กควรทำได้สูงกว่านั้น)

จะเกิดอะไรกับเด็กแอลดี (LD) เมื่อเขาโตขึ้น?
    ในเด็กบางคนที่เป็น LD อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น เชื่อว่าสาเหตุมาจากสมองกลุ่มนี้พัฒนาช้า แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้ แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่ หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสนและลำบากมักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์
    ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่อง LD มากนักคนที่เป็น LD เลยต้องประสบปัญหา หลายคนปรับตัวไม่ได้และต้องออกจากโรงเรียนบางคนกลายเป็นอันธพาลเกเร บางคนหางานทำไม่ได้ เป็นต้น
    การที่เด็กเรียนรู้แบบปกติไม่ได้ ทั้งๆที่สติปัญญาดีนั้นมักทำให้เด็กมีความหงุดหงิดใจ รู้สึกตัวเองโง่เด็กมักถูกเพื่อนๆล้อ ถูกผู้ใหญ่ตำหนิว่าไม่พยายาม เด็กจะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่นอาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่นั้นแย่ลงไปอีก

การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
    การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
    การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
    ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก


หลักการทั่วไปในการช่วยเหลือเด็ก LD
    สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด
    สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
    ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน
    ให้เด็กมีความสุขในการเรียน
    ใช้ประสบการณ์ตรง
    ให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน
    ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ
    กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด
    ให้เด็กเรียนจากเพื่อน
    แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว
    ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
    สอนโดยการเน้นย้ำเชื่อมโยงกับวิชาอื่นด้วย
    จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน
    ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
    มองหาจุดเด่น-จุดด้อยของเด็ก

วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
     สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มีปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room  
     สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็นรายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
     สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
     สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
     ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
     ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
     แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วย

แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
     รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
     ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)
     แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ

คำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก  LD
     พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูดหรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
     แสดงความรักต่อเด็ก
     มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆพยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
     อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดีแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
    ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆในตนเองเหมือนกัน
    มีความคาดหวังที่เหมาะสม
    เมื่อเด็กทำผิดเช่นเขียนผิดอ่านผิดจงอย่าบ่นช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
    อ่านหนังสือสนุกๆกับเด็กกระตุ้นให้เด็กถามคำถามเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น
     เด็ก LD มักมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย ดังนั้นต้องช่วยเด็กโดยลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก ให้เด็กมีที่เงียบๆ สำหรับนั่งทำงาน
     อย่ามีของเล่นมากไปอย่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุขณะเด็กทำการบ้าน
     อย่าสนใจคะแนนมากนักเพราะเด็กอาจทำคะแนนได้ไม่ดีทั้งๆที่พยายามมากแล้ว
     ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเองอย่างมั่นคง



Autism คืออะไร

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
เด็กที่เป็น Autismเด็กปกติ
การสื่อสาร
  • ไม่มองตา
  • เหมือนคนหูหนวก
  • เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
  • ดูหน้าแม่
  • หันไปตามเสียง
  • เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
  • ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
  • จำคนไม่ได้
  • เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
  • ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
  • จำหน้าแม่ได้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
  • ดมหรือเลียตุ๊กตา
  • ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
  • เปลี่ยนของเล่น
  • การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
  • สำรวจและเล่นตุ๊กตา
  • ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ

อาการทางสังคม

เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา
เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง

ปัญหาด้านภาษา

เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
  • เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้

เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง

ความสามารถพิเศษ

เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ
การพัฒนาของเด็กปกติ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย

ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism

สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
  • สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
  • สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
  • สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
  • การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
  • การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

  • พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
  • ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาดoxygen ขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับ Autism

  • ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
  • โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism

ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
การเข้าสังคมและพฤติกรรม
ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ

การเลือกโครงการรักษา

เด็กแต่ละคนจะรักษาไม่เหมือนกัน การรักษาต้องขึ้นกับเด็กแต่ละคน การเลือกสถานที่รักษา ผู้ปกครองต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
  • โครงการรักษานี้เคยใช้กับเด็กอื่นบ้างหรือไม่
  • เด็กที่เข้าโครงการออกไปสู่โรงเรียนปกติกี่คน
  • พนักงานมีประสบการณ์หรือรับการอบรมมาหรือไม่
  • มีแผนงานอะไรบ้าง
  • มีโครงการพิเศษและโครงงานประจำวันอะไรบ้าง
  • มีเจ้าหน้าที่มากน้อยแค่ไหน
  • มีการบันทึกความก้าวหน้าอย่างไร มีดัชนี้ชี้วัดถึงความสำเร็จอย่างไร
  • เมื่อเด็กทำดีมีการให้รางวัลหรือไม่
  • สิ่งแวดล้อมปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่
  • มีการเตรียมผู้ปกครองไว้ดูแลเด็กที่บ้านหรือไม่
  • ราคา

ประเมินหลังการเรียน

ตนเอง     = เข้าเรียนตรงต่อเวลาตั้งใจฟังจดในสิ่งที่อาจารย์บอกเสริมและมีข้อบกพร่องคือไม่ได้ไปเอาชีทที่ร้านถ่ายเอกสารจึงไม่มีชีทในห้องเรียนเหมือนเพื่อน

เพื่อน       = เข้าเรียนตรงต่อเวลาเป้นส่วนมาก มีการถ่ายเอกสารสำหรับการเรียนพร้อมแก่การเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยา

อาจารย์     = บรรยายพร้อมยกตัวอย่างได้เข้าใจง่ายขึ้น มี VDO เปิดให้ดูทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และเนื้อหาที่สอนเหมาะสมกับเวลาเรียนไม่มากเกินหรือน้อยเกินไป